วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

สังคม และเศรษฐกิจ

ที่ตั้ง อาณาเขต
           บ้านยะพอ หมู่ 5 ตำบลวาเลย์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก
           ทิศเหนือ >>>> ติดกับบ้านมอเกอไทย
           ทิศตะวันออก >>>> ติดกับบ้านมอเกอไทย
           ทิศทิศตะวันตก >>>> ติดกับบ้านแม่ออกฮู
           ทิศใต้ >>>> ติดกับสหภาพเมียร์ม่า
         

ลักษณะภูมิศาสตร์
           ลักษณะทั่วไทยทางภูมิศาสตร์บ้านยะพอ ตั้งอยู่เขตเนินเขา ลักษณะดินเป็นดินเหนียวปนทราย และก้อนหินทั้งเล็กและใหญ่ปะปนกัน ลักษณะป่าไม้เป็นป่าเต็งรัง มีแม่น้ำไหลผ่านหมู่บ้านโดยใช้แบ่งอาณาเขตของประเทศไทย และสหภาพเมียร์ม่า


สภาพสังคม
          ลักษณะของสังคมในหมู่บ้านยะพอนี้ เป็นชนปกาเกอะญอ มีทั้งสัญชาติไทย พม่า และบุคคลไร้สัญชาติ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่ติดกับชายแดนไทย-พม่า แต่มีการไปมาหาสู่กันโดยผ่านจุดผ่อนปลนบ้านยะพอ สังคมทั้งสองฝั่งอยู่อาศัยด้วยกันอย่างสงบสุข ไม่ได้ขัดแย้งกัน และคนทั้งสองฝั่งยังเป็นเครือฐฃญาติกันไปมาหาสู่กันได้อย่างปกติ อีกทั้งยังมีการข้ามฝั่งจากไทยไปทำไร่สวนที่ฝั่งพม่าอีกด้วย


เศรษฐกิจพื้นฐานชุมชน
          ประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านยะพอ ประกอบอาชีพการทำการเกษตร โดยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  และปลูกถั่วเขียว เป็นอาชีพหลัก รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 100,000 - 250,000 บาทต่อปี ทั้งนี้พื้นที่ในการเพาะปลูกข้าวโพด และถั่วเขียวนั้น มีทั้งทำในพื้นที่บ้านยะพอ และข้ามฝั่งไปทำที่ประเทศเมียร์ม่าอีกด้วย แต่การข้ามไปทำไร่สวนที่ฝั่งเมียร์มานั้น เกษตรกรจะต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมพื้นที่เพาะปลูก ค่าธรรมเนียมกระท่อม ค่าธรรมเนียมรถไถนา ค่าธรรมเนียมในการนำข้าวโพดออกไปยังฝั่งประเทศไทย โดยมีการเสียให้แก่รัฐบาลเมียร์มา รัฐกระเหรี่ยง และต้องเสียค่าผ่านด่านศุลกากรประเทศไทยอีกด้วย ทั้งนี้ประชาชนที่ข้ามไปทำเกษตรฝั่งประเทศเมียร์มานั้น มีประมาณร้อยละ 60 ของเกษตรกร อีกทั้งประชากรในหมู่บ้านยะพอยังประกอบอาชีพ
          - รับข้าราชการ
          - ค้าขาย
          - รับจ้างทั่วไป
          - พ่อค้าคนกลางในการขายพืชผลทางการเกษตร
          ทั้งนี้ประชาชนทุกหลังคาจะมีการทอผ้าพื้นเมือง (ชุดปกาเกอะญอ) ทุกหลังคาเรือนอยู่เดิมแล้ว มีบางครอบครัวที่ทอผ้าขายให้แก่พ่อค้าแม่ค้าเพื่อที่จะนำไปขายต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น