การศึกษาประวัติศาสตร์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์
กาลเวลาและนักประวัติศาสตร์
ดังนั้นจำเป็นต้องมีวิธีการในการรวบรวมค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์หาเหตุผล
และข้อสรุป ซึ่งจะเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
โดยวิธีการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การตั้งประเด็นที่จะศึกษา
นับว่าเป็นขั้นตอนแรกของวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่ นักประวัติศาสตร์
หรือผู้สนใจทางประวัติศาสตร์มีความสนใจอยากรู้
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ตอนใดตอนหนึ่ง โดยตั้งประเด็นคำถามว่า ศึกษาเรื่องอะไรในช่วงเวลาใด
ทำไมจึงต้องศึกษา
ขั้นตอนที่ 2 สืบค้นและรวบรวมข้อมูล ข้อมูลทางประวัติศาสตร์
คือ
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถสอบสวนเข้าไปให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นได้
ประกอบด้วยหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ คำบอกเล่าของผู้เห็นเหตุการณ์
และหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ศิลาจารึก จดหมายเหตุ บันทึกและเอกสารต่างๆ
ในการสะสม และรวบรวมข้อมูล ต่าง ๆ เหล่านี้
นักประวัติศาสตร์จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณของตนสำรวจ
เนื่องจากข้อมูลแต่ละประเภทเป็นผลิตผลที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน
ดังนั้นต้องค้นหาต้นตอหรือสาเหตุของข้อมูลอย่างลึกซึ้งเท่าที่จะทำได้
เพื่อป้องกันมิให้ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ถูกบิดเบือน
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์และตีความข้อมูลทางประวัติศาสตร์
โดยการนำข้อมูลที่ได้สืบค้นรวบรวม คัดเลือก
และประเมินไว้แล้วนำมาพิจารณาในรายละเอียดทุกด้าน ซึ่ง
นักประวัติศาสตร์ต้องใช้เหตุผลเป็นแนวทางในการตีความเพื่อนำไปสู่การค้นพบข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 4 การคัดเลือกและประเมินข้อมูล นักประวัติศาสตร์จะต้องนำข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้มาคัดเลือก
และประเมินเพื่อค้นหาความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ต้องการทราบ
ขั้นตอนที่ 5 การเรียบเรียงรายงานข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่ได้รับอันเป็นผลมาจากการวิเคราะห์และการตีความข้อมูล หรืออธิบายข้อสงสัย เพื่อนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบ
ตลอดจนความรู้ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าในรูปแบบการรายงานอย่างมีเหตุผล

*** แหล่งที่มา ***
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น