ภูมิปัญญาท้องถิ่น(local wisdom ) หรือภูมิปัญญาชาวบ้านหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นได้เองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นเทคนิควิธีเป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้านคิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการด าเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยความเหมือนกันของภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ เป็นองค์ความรู้ และเทคนิคที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ ซึ่งได้สืบทอดและเชื่อมโยงมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ภูมิปัญญาของบ้านยะพอ สภาพสังคมเป็นชาวปกาเกอะญอ มีทั้งสัญชาติไทย เมียร์มา ทำให้ประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้งภูมิปัญาต่างๆได้มีการผสมผสานกันอย่างลงตัวเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตของประชาชนได้เป็นอย่างดีตลอดมา ในที่นี้แบ่งภูมิปัญญาออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ เพื่อทำการศึกษา คือภูมิปัญญาด้านเครื่องใช้ และด้านอาหาร ได้แก่
1. ภูมิปัญญาด้านเครื่องใช้ ได้แก่การทอผ้าชุดปกาเกอะญอของผู้ชาย (โพควาเซกา) การทอผ้าชุดปกาเกอะญอของผู้หญิง (เชวา) และการทอกระเป๋าปกาเกอะญอ
2. ภูมิปัญญาด้านอาหาร ได้แก่ การทำต๊ะกะป่อ หรือข้าวเบ๊อะ , การทำต๊ะแหละสุ หรือยำเส้นหมี่เหลืองพม่า , การทำขนมโก้เคละ หรือขนมต่าว และการทำขนมโก้ทีพุ้ย หรือโอนัทพม่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น